วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

Laravel::Installation & Setup



การติดตั้ง
ซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้
·        เอาสั้นๆผมแนะนำ easy php ครับ
·     Larvel ค้องการ php Laravel 5.3 ครับ
·     Laravel ใช้ FileInfo library ในการตรวจสอบนามสกุลของไฟล์ ซึ่งมันติดตั้งอยูแล้วกับ php        5.3  ถ้า  ต้องการข้อมูลเพิ่มก็ไปที่นี้เลยครับ  installation / configuration details on PHP.net.
·        Laravel ใช้ Mcrypt library ในฟังชัน Hash:: นะครับ


การติดตั้ง
1.      Download Laravel
2.       แตกไฟล์ไปวางที่ server
3.      เข้าไปที่ config/application.php เพื่อกำหนดค่ากุญแจที่จะนำไปใช้ในคลาส        cookie,hash,string,encryption

4.      ตรวจดูว่าโฟลเดอร์ storage/views ได้รับอนุญาตให้เขียนได้
5.      เข้าไปที่ 127.0.0.1/laravel/public ถ้าไม่มีปัญหาเราจะได้เห็นหน้าแรกของ laravel

ถ้ามีปัญหา ลองดูตามข้างล่างนี้ก่อนครับ

·        ถ้าเซต mod_rewriteไปแล้ว ก็ต้องตั้งค่า index option ใน  application/config/application.php ให้เป็นค่าว่าง
·        ตรวจดูว่าทุกโฟลเดอร์ของ laravel ได้รับอนุญาตให้เขียนได้


Server Configuration
การตั้งค่า MOD_VHOST ผมไม่ขออธิบายมาก ไปดูที่เว็บนี้เลยครับ
แต่ในกรณีของ laravel ตรง DocumentRoot ให้จบลงตรงโฟลเดอร์ public นะครับ
<VirtualHost *:80>
    DocumentRoot /Users/JonSnow/Sites/MySite/public
    ServerName mysite.dev
</VirtualHost>
การตั้งค่าพื้นฐาน
เริ่มแรกก็เข้าไปที่ไฟล์ application.php เพื่อทำการตั้งค่าพื้นฐานนะครับ ในภาพ url คือ
ตั้งค่า 
url ของ web ของเรานะครับ asset_url คือเอาไว้ลิ้งไฟล์ js css image 
ที่มาจากทีอื่น
ในกรณีที่ไฟล์ไม่อยู่บนโฮสของเรานะครับ

ตรง index ในภาพคือเราต้องการให้เวลาเราเรียก url ต้องการให้มีคำว่า index.php ติดท้ายมาด้วยหรือไม่ ถ้าเซต mod_rewrite แล้วก็ทำให้เป็นเหมือนในภาพเลยครับ

การตั้งค่าพื้นฐานหลายๆแบบ
บางครั้งเราก็อยากทดสอบการตั้งค่าแบบหลายๆ แบบ เราก็สามารถเข้าไปตั้งค่าได้ที่ไฟล์ path.php
$environments = array(
    'local' => array('http://localhost*', '*.dev'),
);
เราต้องเข้าไปสร้าง โฟลเดอร์ local ที่ application/config/ ก่อนนะครับ แล้วค่อยสร้าง ไฟล์ application.php หรือ database.php ไว้
ภาพบนเป็นการบอกให้ laravel รู้ว่าเมื่อเรารียกใช้งาน url localhost แล้วจบด้วย .dev กาตั้งค่าทั้งหมดจะถูกไปเรียกใช้จากโฟลเดอร์ local แทน ยกตัวอย่าง เหมือนภาพข้างล่าง
return array(
'url' => 'http://localhost/laravel/public',
);

จบไปอีกบทแล้วครับข้อมูลทั้งหมดมาจากตรงนี้ครับ  document ของ laravel เลยครับ บางอันผมก็ตัดบางอันผมก็เพิ่มตามความเข้าใจของผม ถ้าผิดพลาดตรงไหนช่วยเม้นบอกด้วยครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น